วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

ขั้นตอนและวิธีการทำค่ายบำบัดรักษา

1.  ประเมินสภาพปัญหาของผู้ติดยาที่จะเข้าค่ายบำบัด

2.  บำบัดรักษาผู้ที่มีอาการถอนยา ตามสภาพปัญหาของผู้ติดยา
3.  จัดให้มีการสอนและฝึกอบรมด้านวิชาชีพแก่ผู้ติดยา
4.  จัดให้มีกิจกรรมนันทนาการ เพื่อลดความเครียด
5.  จัดให้มีกิจกรรมกลุ่มบำบัด เพื่อเป็นการรักษาทางด้านจิตใจ
6. จัดให้มีกิจกรรมบำบัดรักษาและพัฒนาคุณค่าชีวิตทางด้านศาสนา เพื่อเสริมความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ
7.  จัดให้มีกิจกรรมอื่นๆที่เสริมสร้างและฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างการและจิตใจ เช่น การออกกำลังกาย การทำสมาธิ การสร้างงานอดิเรก เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายในการบำบัดรักษา
         ค่าใช้จ่ายจะมากน้อยแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสถานพยาบาลและเวลาที่ใช้ในการรักษา ถ้าเป็นสถานพยาบาลของเอกชน ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ 10,000 – 20,000 บาท ต่อสัปดาห์ แต่ถ้าเป็นสถานพยาบาลของรัฐจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่านี้ และมีหน่วยงานคอยช่วยเหลือผู้เข้าบำบัดรักษาตามสภาพปัญหาของแต่ละบุคคล

การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

      การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด หมายถึง การดำเนินงานเพื่อแก้ไชสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้เลิกจากการเสพ และสามารถกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดมีกระบวนการบำบัดอยู่ 3 ระบบคือ
•  ระบบสมัครใจ คือ การเปิดโอกาสให้ผู้ติดยาเสพติดที่ต้องการเลิกสามารถเข้ารับการบำบัดในสถานพยาบาลต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน
•  ระบบต้องโทษ คือ การที่ผู้ติดยาเสพติดกระทำความผิดเกี่ยวกับคดียาเสพติดและถูกคุมขัง ซึ่งจะต้องรับการบำบัดในสถานพยาบาลภายใต้ขอบเขต เช่น กรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติและสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นต้น
•  ระบบบังคับ คือ การใช้กฎหมายบังคับตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534 โดย ศูนย์ฟื้นฟุสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เป็นผู้บำบัดรักษา
ขั้นตอนการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
•  ขั้นเตรียมการก่อนบำบัดรักษา ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
•  สัมภาษณ์ประวัติผู้ติดยา
•  การลงทะเบียนประวัติ
•  แนะนำและชี้แจงวิธีการบำบัดรักษาทางการแพทย์
•  แนะนำและชักชวนให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการบำบัด
•  ตรวจสุขภาพของผู้ติดยาเสพติด
•  ขั้นตอนการรักษา เช่น การบำบัดอาการทางกายที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด เพื่อช่วยระงับความต้องการยา ซึ่งขั้นตอนนี้จะเป็นการถอนพิษตามสภาพร่างกายและชนิดของยาเสพติดที่ใช้ เพื่อรักษาอาการขาดยา และสภาวะแทรกซ้อนต่างๆทั้งทางร่างกายและจิตใจ
•  ขั้นตอนการฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด โดยจะทำการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ที่ติดยาเสพติด โดยมีเจ้าหน้าที่บำบัดหลายๆฝ่ายร่วมกัน เช่น นักจิตวิทยา แพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ ครูอาชีวบำบัด เป็นต้น
•  ขั้นตอนติดตามผล เป็นการติดตามผลดูแลผู้ที่เลิกยาหลังจากที่ผ่านขั้นตอนทั้ง 3 มาแล้ว เพื่อให้คำแนะนำ กำลังใจ และช่วยแก้ปัญหาของผู้ที่ติดยาเสพติดไม่ให้หันกลับมาเสพอีก โดยวิธีการต่อไปนี้
•  การติดตามผลทางตรง คือการพบปะพูดคุยกับผู้ป่วยโดยตรง
•  การติดตามผลทางอ้อม คือการพูดคุยทางโทรศัพท์ จดหมายหรือผ่านบุคคลที่ 3
รูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดยา
•  การบำบัดรักษาทางร่างกาย มี 3 วิธี คือ
•  การบำบัดแบบการแพทย์แผนปัจจุบัน เช่นการบำบัดรักษาโดยใช้ยาอื่นแทนเพื่อถอนพิษ มีรูปแบบการบำบัดดังนี้
•  ใช้ยาอื่นทดแทน เพื่อถอนพิษยาเสพติด ทำให้ผู้เสพหมดความต้องการทางยาซึ่งยาที่จะเข้าไปแทนต้องเป็นยาที่ให้โทษน้อยกว่า
•  การให้ยาเพื่อต้านฤทธิ์ยาเสพติด
•  การรักษาเพื่อให้คงสภาพการติดยา เช่น การให้สารเสพติดแก่ผู้เสพ ภายใต้การควบคุมของแพทย์ในปริมาณที่ลดลงเรื่อยๆ
•  การบำบัดแบบการแพทย์แผนโบราณ มีรูปแบบการบำบัดรักษาดังนี้
•  บำบัดรักษาโดยใช้ยาสมุนไพร นิยมใช้ตามสำนักสงฆ์ โดยนำสมุนไพรมาใช้เพื่อการล้างพิษโดยให้ผู้ป่วยดื่มซึ่งจะทำให้อาเจียนและถ่ายออกมา
•  การฝังเข็ม เช่น การใช้หลักวิชาการแพทย์สมัยโบราณโดยใช้เข้มฝังตามจุดต่างๆของร่างการพร้อมทั้งต่อสายไฟและปล่อยกระแสอ่อนๆเข้าสู่ร่างกาย
•  การบำบัดรักษาโดยวิธีอื่นๆ เช่น
•  การหักดิบ เป็นวิธีการที่ให้ผู้ที่ติดยาเสพติดเลิกเสพยาโดยทันทีโดยไม่ต้องใช้ยาอื่นมาทดแทน ผู้เสพจะมีอาการเสี้ยนยาอย่างรุนแรงใน 5 วันแรก ถ้าผ่านช่วงนี้ไปได้จะทำให้เข็ดไม่กล้ากลับมาเสพอีก
•  การบำบัดโดยใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้ากำลังต่ำตามจุดต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดการเลิกยาได้
•  การบำบัดรักษาทางด้านจิตใจ มี 4 วิธี คือ
•  วิธีจิตบำบัด เพราะโดยทั่วไปผู้ที่ติดยาเสพติดมีสาเหตุจากด้านจิตใจ ดังนั้นการฟื้นฟูสภาพจิตใจให้เข้มแข็งขึ้น ทำให้ผู้ติดยาสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้โดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติดอีกต่อไป วิธีจิตบำบัดมี 3 รูปแบบคือ
•  การให้คำปรึกษาเป็นการรายบุคคล
•  การให้คำปรึกษาเป็นกลุ่ม
•  การให้คำปรึกษาแก่ครอบครัว
•  วิธีบำบัดยาเสพติดโดยใช้ศาสนา เนื่องจากผู้ที่ติดยาเสพติดมักมีปัญหาแก้ไขไม่ได้ จึงหันไปพึ่งยาเสพติด การนำหลักธรรมศาสนามาช่วยจะทำให้ผู้ที่เสพยาเสพติดมีจิตใจที่เข้มแข็งขึ้น รู้จักแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
•  วิธีการบำบัดรักษาแบบชุมชนบำบัด เป็นวิธีการบำบัดที่ทำให้ผู้ติดยาเสพติดหรือสมาชิกได้พัฒนาตนเอง โดยมีการจำลองครอบครัวขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้ที่ติดยามีโอกาสปรับปรุงตนเองในสถานที่ที่มีความอบอุ่น การบำบัดแบบนี้มี 3 ขั้นตอน คือ
1. ระยะจูงใจ ใช้เวลา 30 วัน เพื่อเตรียมความพร้อม
2. ระยะบำบัดรักษา ใช้เวลา 1- 11 เดือน หรือ 2 ปี คือ การให้ผู้ที่ติดยาเรียนรู้ความผิดและรู้จักวิธีการแก้ไขปัญหา
3. ระยะกลับเข้าสู้สังคม ใช้เวลา 3- 5 ปี เช่น การให้ผู้ตดยากลับไปใช้ชีวิตจริงในสังคม
•  การบำบัดแบบชีวบำบัด การบำบัดวิธีนี้ มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ติดยาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการฝึกหัดอาชีพ
•  การบำบัดรักษาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ คือการบำบัดรักษาในรูปแบบของการทำค่ายบำบัด ดังนั้นผู้ที่ผ่านค่ายบำบัดจะต้องได้รับการฟื้นฟูสภาพจิตใจและมีการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับผู้ติดยาสามารถเข้ารับการบำบัดรักษาได้ที่

            - สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนี (สถาบันธัญญารักษ์) โทรศัพท์ สายด่วน 1165 

              - สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดบ้านพิชิตใจ สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0-2354-4233 เว็บไซต์ office.bangkok.go.th 

              - สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก จังหวัดสระบุรี โทรศัพท์ แผนกรักษายาเสพติด 036-266292 หรือ เฟซบุ๊ก thamkrabokfanpage  


              - ศูนย์บริการสาธารณสุข และคลินิกยาเสพติดทุกแห่งในสังกัดกรุงเทพมหานคร 

              - โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง

              ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบสถานที่บำบัดยาเสพติดทุกจังหวัด ได้ที่นี่ thanyarak.go.th 

วิธีการจัดการกับอาการอยากยา

           -พยายามควบคุมจิตใจตนเอง ค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดอาการอยากยา และต้องหลบเลี่ยงให้ได้ด้วยความอดทน

              -หากเริ่มมีอาการอยากยา ให้หยุดคิดทันที แล้วใช้การจินตนาการ นึกถึงเรื่องดี ๆ ที่ทำให้คุณมีความสุขแทนที่จะคิดถึงการใช้ยา 

              -เปลี่ยนสภาพแวดล้อม หรือหันไปหางานอดิเรกอื่น ๆ ทำ เพื่อจะได้ใช้สมาธิกับงานนั้น จะได้ไม่คิดถึงยาอีก เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา ฟังเพลง เล่นดนตรี ดูโทรทัศน์ ฯลฯ

              -คล้องหนังยางไว้ที่แขน หากคิดถึงยาให้ดีดหนังยางแรง ๆ และบอกตัวเองว่า "ไม่" เพื่อจะได้เตือนตัวเอง และหยุดความคิดนั้น

              -สวดมนต์ หรือนั่งสมาธิ ให้จิตสงบ เพ่งสมาธิไปที่ลมหายใจเข้า-ออกของตัวเอง 

              - โทรศัพท์หาคนที่ให้คำปรึกษาได้ คนที่เราไว้เนื้อเชื่อใจ ให้กำลังใจเราได้

              -ฝึกให้ตัวเองผ่อนคลาย ด้วยการสูดหายใจเข้าลึก ๆ ให้เต็มปอด จากนั้น หายใจออกช้า ๆ จนรู้สึกผ่อนคลาย

วิธีเลิกยาเสพติด

             แม้จะรู้อยู่แล้วว่า "ยาเสพติด" มีพิษร้าย แต่น่าตกใจจริง ๆ ที่ตัวเลขผู้ติดยากลับเพิ่มขึ้นทุกปี และยิ่งไปกว่านั้นก็คือ คนที่ติดยาเสพติดกลับมีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ ทุกวันนี้มีเด็กชั้นประถมหลายคนตกเป็นทาสของยาเสพติดเสียแล้ว และนั่นก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดคดีอาชญากรรมเพิ่มขึ้นมาเป็นเงาตามตัว 
               อย่างไรก็ตาม หลายคนติดยาเพราะเพื่อนยุ บ้างก็แค่อยากลอง อยากสัมผัส ไม่ได้คิดจะเสพยาจริง ๆ แต่เมื่อลองไปแล้ว อยากจะเลิกก็เลิกไม่ได้ เพราะมีอาการลงแดง ไม่สามารถทนต่อความทรมานที่ไม่ได้ใช้ยาได้ แม้จะใช้วิธี "หักดิบ" เลิกยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดไปอย่างเด็ดขาด กลับยิ่งทำให้กลับมาเสพซ้ำอีก
              การเลิกยาเสพติดให้ได้ผลนั้น ผู้เสพยาจะต้องตั้งใจและอดทนว่าจะเลิกยาให้ได้ อย่าไปคิดถึงเรื่องการเสพยา หรือสัมผัสยาเสพติดอีกเด็ดขาด ต้องทิ้งอุปกรณ์การเสพยาให้หมด และหากมีเพื่อนที่ใช้ยาเสพติดอยู่ อย่าเพิ่งไปเจอ หรือพูดคุย เพราะเพื่อนที่เสพยาอยู่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้ความตั้งใจของเราล้มเหลวได้

                  นอกจากนี้ ต้องตระหนักรู้ถึงความอยากยาของตัวเองให้เร็วที่สุด และหยุดความคิดไว้ตั้งแต่ก่อนจะรู้สึกอยากยา เพราะหากคิดถึงยา จะทำให้เกิดความรู้สึกอยากยา และมีโอกาสจะหันกลับไปใช้ยาเสพติดได้มาก ดังนั้นแล้ว ควรจะฝึกหยุดความคิดถึงยาเสพติด เพื่อปราบอาการอยากยา 

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สารยาเสพติดอันตรายเห็ดขี้ควาย

สารยาเสพติดอันตรายเห็ดขี้ควาย (Magic Mushroom)

เห็ดขี้ควายเป็นเห็ดพิษซึ่งขึ้นอยู่ตามกองมูลควายแห้ง สีของเห็ดจะมีสีเหลืองซีด คล้ายสีฟางแห้ง บนหัวของร่มจะมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำบริเวณก้าน (Stalk) บริเวณใกล้ตัวร่มจะมีแผ่นเนื้อเยื่อบางๆ สีขาว แผ่ขยายออกรอบก้าน แผ่นนี้มีลักษณะคล้ายวงแหวน

                                                สารยาเสพติดอันตรายยาเค (ketamine)



ยาเค มาจากคำว่า เคตามีน (ketamine) หรือชื่อทางการค้าว่า เคตาวา (Ketava) หรือเคตาลา (Ketalar)หรือคาสิบโชลซึ่งตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 หมายถึง ยาที่มีอันตรายสูงที่แพทย์จะจ่ายให้กับผู้ป่วย เฉพาะเมื่อมีความจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น สาเหตุที่ทำให้ยาเคกลายเป็นปัญหา เพราะวัยรุ่นบางกลุ่มได้นำยาเคมาใช้เป็นสิ่งมึนเมา โดยนำมาทำให้เป็นผงนำมาสูดดมเพื่อให้เกิดอาการมึนเมา และมักพบว่ามีการนำยาเค มาใช้ร่วมกับยาเสพติดร้ายแรงชนิดอื่น เช่น ยาอี และโคเคน

สารยาเสพติดอันตรายกัญชา

สารยาเสพติดอันตรายกัญชา (Cannabis)

กัญชา มีลักษณะใบจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 5-8 แฉกคล้ายใบมันสำปะหลังที่ขอบใบทุกใบจะมีรอยหยักออกดอกเป็นช่อเล็กๆ ตามง่ามของกิ่งและก้าน ส่วนที่คนนำมาเสพได้แก่ส่วนของกิ่ง ก้าน ใบและยอดช่อดอกกัญชาโดยนำมาตากหรืออบแห้ง แล้วบดหรือหั่นให้เป็นผงหยาบๆ จากนั้นจึงนำมายัดไส้บุหรี่สูบ ยังอาจพบในรูปของ น้ำมันกัญชา(Hashish Oil) ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ

สารยาเสพติดอันตราย
กระท่อม (Kratom)


กระท่อม เป็นพืชเสพติดชนิดหนึ่ง ส่วนมากพบในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศอินเดียและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ประเทศไทย ลักษณะเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางมีแก่นเป็นเนื้อไม้แข็งใช้ส่วนของใบเป็นสิ่งเสพติด ลักษณะใบคล้ายกระดังงาหรือใบฝรั่งต้นหนาทึบ ต้นกระท่อมมี 2 ชนิด คือก้านเขียวและก้านแดง

 สารยาเสพติดอันตรายฝิ่น

 สารยาเสพติดอันตรายฝิ่น (Opium)

ฝิ่นเป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมาย ซึ่งประกอบด้วย โปรตีนเกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์เป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดให้โทษที่ร้ายแรง และเป็นยาเสพติดที่เป็นต้นตอของยาเสพติดร้ายแรง เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน และโคเคอีน มีการลักลอบปลูกฝิ่นมากทางภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณแนวพรมแดน ที่เรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ
สารยาเสพติดอันตรายมอร์ฟีน (Morphine)


มอร์ฟีนเป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ของฝิ่นที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นตัวการที่ออกฤทธิ์กดประสาทมอร์ฟีนเป็นผงสีขาวหรือเทาเกือบขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขม มีฤทธิ์สูงกว่าฝิ่น เสพติดได้ง่าย มีลักษณะเป็นเม็ด เป็นผง และเป็นก้อน หรือละลายบรรจุหลอดสำหรับฉีด นำเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีฉีดเป็นส่วนมากมอร์ฟีนใช้เป็นยาหลักหรือยามาตรฐานของยาแก้ปวดยาจำพวกนี้กดระบบประสาทส่วนกลาง ลดความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้รู้สึกง่วงหลับไป และลดการทำงานของร่างกายอาการข้างเคียงอื่น ๆ ก็คือ อาจทำให้คลื่นเหียนอาเจียน ท้องผูก เกิดอาการคันหน้า ตาแดงเพราะโลหิตฉีด ม่านตาดำ หดตีบ และหายใจลำบาก

สารยาเสพติดอันตรายยาอี

 สารยาเสพติดอันตรายยาอี ยาเลิฟ เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy)


ยาอี ยาเลิฟ เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy) เป็นยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน จะแตกต่างกันบ้างในด้านโครงสร้างทางเคมี ลักษณะของยาอี มีทั้งที่เป็นแคปซูลและเป็นเม็ดยาสีต่าง ๆ แต่ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเม็ดกลมแบนผิวเรียบ และปรากฏสัญลักษณ์บนเม็ดยาเป็นรูปต่าง ๆ เช่น กระต่าย ฯลฯ

 สารยาเสพติดอันตรายโคเคน (Cocaine) 



โคเคน หรือ โคคาอีนเป็นยาเสพติด ที่สกัดได้จากใบของต้นโคคาซึ่งเป็นต้นไม้ที่ลักลอบปลูกมากในประเทศแถบอเมริกาใต้ เช่น เปรู โบลิเวีย และโคลัมเบีย เป็นต้นโคเคนมีชื่อเรียกในกลุ่มผู้เสพว่า COKE, Snow, Speed Ball, Crackโคเคนที่พบในประเทศไทย มี 2 ชนิด ได้แก่
1. โคเคนชนิดผง มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว รสขม ไม่มีกลิ่น
2. โคเคนรูปผลึกเป็นก้อน (Free base, Crack)

สารยาเสพติดอันตรายเฮโรอีน

สารยาเสพติดอันตรายเฮโรอีน (Heroin)

เฮโรอีนเป็นยาเสพติดที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี จากปฏิกิริยาระหว่างมอร์ฟีนกับสารเคมีบางชนิด เช่น อาเซ-ติคแอนไฮไดรด์ (Aceticanhydride) หรือ อาเซติลคลอไรด์ (Acetylchloride) หรือเอทิลิดีนไดอาเซเตท?(Ethylidinediacetate) เฮโรอีนออกฤทธิ์แรงกว่ามอร์ฟีนประมาณ 4-8 เท่า และออกฤทธิ์แรงกว่าฝิ่น ประมาณ 30-90 เท่าโดยทั่วไปเฮโรอีนจะมีลักษณะเป็นผงสีขาว สีนวล หรือสีครีม มีรสขม ไม่มีกลิ่น เฮโรอีนที่แพร่ระบาดในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. เฮโรอีนผสม หรือเรียกว่าเฮโรอีนเบอร์ 3 หรือไอระเหย เป็นเฮโรอีนที่มีความบริสุทธิ์ต่ำ เนื่องจากมีการผสมสารอื่นเข้าไปด้วย เช่น ผสมสารหนู สตริกนิน ยานอนหลับ กาเฟอีน แป้ง น้ำตาลและอาจผสมสี เช่น สีม่วงอ่อน สีชมพูอ่อน สีน้ำตาล อาจพบในลักษณะเป็นผง เป็นเกล็ด หรืออัดเป็นก้อนเล็ก ๆ มีวิธีการเสพโดยการสูดเอาไอสารเข้าร่างกาย
จึงเรียกว่า ไอระเหย หรือ แคป
 2. เฮโรอีนเบอร์ 4 เป็นเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ที่มีความบริสุทธิ์สูง มีลักษณะเป็นผงละเอียด หรือเป็นเม็ดคล้ายไข่ปลาหรือพบในลักษณะอัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้า มักมีสีขาวหรือสีครีม ไม่มีกลิ่น มีรสขม เป็นที่รู้จัดทั่วไปว่า ผงขาวมักเสพโดยนำมาละลายน้ำและฉีดเข้าร่างกาย หรือผสมบุหรี่สูบ

สารยาเสพติดอันตราย ยาบ้า (Amphetamine)



ยาบ้า เป็นชื่อที่ใช้เรียกยาเสพติดที่มีส่วนผสมของสารเคมี ประเภทแอมเฟตามีน (Amphetamine)
ยาบ้า จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนขนาดเล็กมีสีต่างๆ กัน เช่น สีส้ม สีน้ำตาล
มีสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนเม็ดยา เช่น ฬ, M, PG, WY สัญลักษณ์รูปดาว เป็นต้น


วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

การรักษาผู้ที่ติดยาม้าหรือยาบ้า

การรักษาผู้ที่ติดยาม้าหรือยาบ้า



 1. การให้ความรู้เกี่ยวกับยาม้าหรือยาบ้าแก่ผู้เสพติดแล้ว ให้เข้าใจโดยถ่องแท้ถึงพิษของยาม้าหรือยาบ้า ที่มีต่อตัวผู้เสพติดทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อผู้เสพติดจะได้มีความกลัวต่อผลร้ายเหล่านั้น และมีความตั้งใจที่จะเลิกยาม้าหรือยาบ้าอย่างจริงจัง
2. การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมโดยรอบของผู้ติดยาม้าหรือยาบ้า ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่ขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ครอบครัวที่ขาดความอบอุ่น ครอบครัวที่ขาดความเอาใจใส่ที่ดีพอ รวมทั้งเพื่อนฝูง หรือชุมชนโดยรอบๆ บ้านของผู้ติดยาม้าหรือยาบ้า ตลอดจนเพื่อนนักเรียนในโรงเรียนเดียวกัน ซึ่งต้องการการตรวจสอบหาข้อมูลอย่างจริงจัง หาข้อมูลให้ถึงแก่นแท้ของปัญหาจากสิ่งแวดล้อม และดำเนินการแก้ไขไปพร้อมๆ กับข้ออื่นๆ
3. ความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของผู้เสพติด และพ่อแม่ผู้ปกครองของผู้ที่ติดยาเสพติดที่จะต้องการละหรือเลิกเสพยาม้าหรือยาบ้าตลอดไปให้ได้
4. ผู้เสพติดยาม้าหรือยาบ้า จะต้องไปรับการรักษาจากสถาบันทางการแพทย์ต่างๆ เช่น โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานคร อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะหายจากการเสพติดอย่างเด็ดขาด
5. ความสำเร็จในการเลิกเสพติดยาม้าหรือยาบ้า ได้ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ ซึ่งนอกเหนือจากการช่วยตนเองแล้ว ท่านได้ช่วยเหลือครอบครัวของท่าน ท่านได้ช่วยเหลือสังคมโดยส่วนรวม อันหมายถึงประเทศไทยอันเป็นที่รักของเรานั่นเอง


การป้องกันการติดยาเสพติด

การป้องกันการติดยาเสพติด


 
ยาเสพติดป้องกันได้
๑. ป้องกันตนเอง ทำได้โดย..
ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด
ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน
ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพติดได้
ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
เลือกคบเพื่อนดี ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์
เมื่อมีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติดหากแก้ไขไม่ได้ควรปรึกษาผู้ใหญ่
๒. ป้องกันครอบครัว ทำได้โดย
สร้างความรัก ความอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง

ดูแลสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติต
ให้กำลังใจและหาทางแก้ไข หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติด

๓. ป้องกันชุมชน ทำได้โดย
ช่วยชุมชนในการต่อต้านยาเสพติด
เมื่อทราบแหล่งเสพ แหล่งค้า หรือผลิตยาเสพติด ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที
ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1688

เยาวชนกับการป้องกันยาเสพติด

เยาวชนกับการป้องกันยาเสพติด 


 การป้องกันและแก้ไขตนเองของเยาวชนให้ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติดสามารทำได้โดย๑. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติด และระมัดระวังในการใช้ยา
๒. รู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี ส่งเสริมให้คิดและกระทำสิ่งดีมีประโยชน์กล้าพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชักจูงไปในทางที่ไม่ดี
๓. ใช้เวลาว่าง และความอยากรู้ อยากลอง ไปในทางที่เป็นประโยชน์พึงระลึกเสมอว่าตนเองนั้นมีคุณค่าทั้งต่อตนเอง  ครอบครัว และสังคม
๔. มีความภาคภูมิใจและนับถือตนเอง ด้วยการไม่พึงพาหรือเกี่ยวข้องอบายุมขและสิ่งเสพติดใดๆ ซึ่งจะนำความเสื่อมไปสู่ชีวิตของตนเอง
๕.รู้จักแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองด้วยเหตุและผล

๖. รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของ พ่อแม่และประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม จะช่วยให้เยาวชนประสบกับความสำเร็จในชีวิต
๗. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เข้าใจวิธีการดำเนินชีวิตและยอมรับความเป็นจริง ที่ตนเองเป็นอยู่ โดยนำหลักศาสนามาเป็น

เยาวชนกับยาเสพติด

เยาวชนกับยาเสพติด


เมื่อพูดถึงปัญหายาเสพติด คนส่วนใหญ่ก็มักจะมุ่งความสนใจไปที่กลุ่มผู้ผลิต ผู้ค้าและผู้เสพยาเสพติด โดยเฉพาะผู้เสพยาเสพติดที่เป็นเยาวชน ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรง จึงทำให้ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นบิดามารดา ครู ผู้ปกครอง องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจน สื่อมวลชนต่างก็ให้ความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะการพยายามสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่เด็กและเยาวชน ให้มีชีวิตที่ดีงามห่างไกลจากยาเสพติด ซึ่งต้องระมัดระวังทั้งในเรื่องของการสรรหาวิธีการและเลือกเฟ้นเนื้อหา ข้อความที่เข้าถึงเยาวชนได้ตรงจุด ทั้งนี้เพราะเด็กและเยาวชนนั้นจะมีลักษณะพิเศษ เช่น ไม่ชอบให้ใครว่ากล่าวตักเตือนตรง ๆ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ แต่จะรับข่าวสารข้อมูลได้มากขึ้นถ้าเยาวชนด้วยกันเป็นผู้ให้ข่าวสารข้อมูลนั้น หรือตนเองเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสื่อสารด้วย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 

ปัญหายาเสพติดของวัยรุ่น

ปัญหายาเสพติดของวัยรุ่น


 ยาเสพติดเป็นปัญหาสังคมที่ยิ่งใหญ่ ที่ต้องการการแก้ไขอย่างจริงจัง และอย่างจริงใจ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่เหนือสิ่งอื่นใด ในการแก้ปัญหา ไม่มีใครที่ติดยาเสพติดโดยที่ตนเองไม่ยินยอมที่จะเสพ เพราะฉะนั้นคำว่า ไม่เริ่ม...ไม่ต้องเลิก ท่านต้องจำ 5 คำนี้ให้ดี คาถาปัองกันปัญหายาเสพติด ท่านทราบดีอยู่แล้วว่ายาเสพติดเป็นสิ่งไม่ดี ดังนั้นท่านต้องหัดปฏิเสธ ท่านต้องเจ้าเล่ห์เพทุบายในการหลบ หลีกเลี่ยงการลองยาเสพติด ที่เพื่อนรักของท่านนำมาให้หรือชักจูงท่านด้วยเหตุผลต่างๆ นาๆ ท่านสามารถที่จะบอกว่าท่านมีอาการแพ้สิ่งนั้นอย่างรุนแรง ท่านมีปอดและระบบทางเดินหายใจไม่ดี เสพที่ใด ไอจามทุกที นอนไม่หลับ สารพัดเหตุผลที่ท่านสามารถนำขึ้นมาพูดกับเพื่อนที่แสนที่จะไม่หวังดีต่อท่าน ถ้าท่านตั้งมั่นในดวงใจอยู่เสมอว่า ชั่วชีวิตนี้ท่านจะไม่ยอมติดยาเสพติดเป็นอันขาด

วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558

วิธีสังเกตอาการผู้ติดยาเสพติด

วิธีสังเกตอาการผู้ติดยาเสพติด          




จะสังเกตว่าผู้ใดใช้หรือเสพยาเสพติด ให้สังเกตจากอาการและการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย และจิตใจดังต่อไปนี้
 ๑ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จะสังเกตได้จาก
 - สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
- ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้ง และแตก
๒ การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติและบุคลิกภาพ สังเกตได้จาก

 - เป็นคนเจ้าอารมย์ หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล
- ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่

 - พูดจากร้าวร้าว แม้แต่บิดามารดา ครู อาจารย์ ของตนเอง
๓ การสังเกตุอาการขาดยา ดังต่อไปนี้
- น้ำมูก น้ำตาไหล หาวบ่อย
- กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หายใจถี่ ปวดท้อง คลื่นไส้       
- ขนลุก เหงื่อออกมากผิดปกติ

- ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูก
- ม่านตาขยายโตขึ้น ตาพร่าไม่สู้แดด


ลักษณะการติดยาเสพติด


ลักษณะการติดยาเสพติด 

  

   ลักษณะทั่วไป
๑. ตาโรยขาดความกระปรี้กระเปร่า น้ำมูกไหล น้ำตาไหล ริมฝีปากเขียวคล้ำแห้ง         
๒. เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรง พูดจาไม่สัมพันธ์กับความจริง

๓. บริเวณแขนตามแนวเส้นโลหิต มีร่องรอยการเสพยาโดยการฉีดให้เห็น
๔. ที่ท้องแขนมีรอยแผลเป็นโดยกรีดด้วยของมีคมตามขวาง         
๕. ใส่แว่นตากรองแสงเข้มเป็นประจำเพราะม่านตาขยายและเพื่อปิดนัยน์ตาสีแดงก่ำ

๖. มักสวมเสื้อแขนยาวปกปิดรอยฉีดยา         
๗. มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยานั้นต่อไปอีกเรื่อยๆ

๘. มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของสิ่งเสพย์ติดให้มากขึ้นทุกขณะ
๙. ถ้าถึงเวลาที่เกิดความต้องการแล้วไม่ได้เสพจะเกิดอาการขาดยาหรืออย่ากยาโดยแสดงออกมา         
๑๐.สิ่งเสพย์ติดนั้นหากเสพอยู่เสมอๆ และเป็นเวลานานจะทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ               
๑๑. ทำให้ร่างกายซูบผอมมีโรคแทรกซ้อน และทำให้เกิดอาการทางโรคประสาทและจิตไม่ปกติ

สาเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

       สาเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
   

   
๑. อยากทดลอง เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นนิสัยของคนโดยทั่วไป และโดยที่ไม่คิดว่าตนจะติดสิ่งเสพย์ติดนี้ได้ จึงไปทำการทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น ในการทดลองใช้ครั้งแรกๆ อาจมีความรู้สึกดีหรือไม่ดีก็ตาม        
 ๒. ความคึกคะนอง คนบางคนมีความคึกคะนอง ชอบพูดอวดเก่งเป็นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมีนิสัยดังกล่าว คนพวกนี้อาจแสดงความเก่งกล้าของตน  ในกลุ่มเพื่อนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพย์ติดชนิดต่าง ๆ  เพราะเห็นแก่ความสนุกสนาน
  ๓. การชักชวนของคนอื่น  อาจเกิดจากการเชื่อตามคำชักชวนโฆษณา  ของผู้ขายสินค้าที่ เป็นสิ่งเสพย์ติดบางชนิด  เช่น ยากระตุ้นประสาทต่างๆ ยาขยัน ยาม้า ยาบ้า เป็นต้น โดยผู้ขายโฆษณาสรรพคุณของสิ่งเสพย์ติดนั้นว่ามีคุณภาพดีสารพัดอย่างเช่น ทำให้มีกำลังวังชา  ทำให้มีจิตใจแจ่มใส  ทำให้มีสุขภาพดี  ทำให้มีสติปัญญาดี